วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชมโบราณสถาน กินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวอยุธยา




อยุธยาเมืองเก่าของเราแต่ก่อน....เพลงๆนี้ร้องกันได้แทบทุกคนในอยุธยา อยุธยาเป็นจังหวัดที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดเดียวที่ไม่มีอำเภอเมืองแต่เรียกว่าอำเภอพระนครศรีอยุธยา อยุธยาเป็นเมืองที่ได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองมรดกโลกทั้งอำเภอ สิ่งที่น่าสนใจในอยุธยามีอยู่หลายอย่าง ได้แก่โบราณสถาน ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม วัดวาอาราม สถานที่ท่องเที่ยว อาหารการกินฯลฯ เป็นที่สนใจเลื่องลือกันไปทั้งคนไทยและต่างชาติ อยุธยาจึงมีสิ่งที่น่าสนใจและกิจกรรมให้ทำหลายหลากดังนี้

เที่ยวชมโบราณสถานพิพิธภัณท์ 

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อยุธยา ราชธานีแห่งที่ ี่ 2 ของไทยที่มีอายุยาวนานถึง 417 ปี เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชนชาติไทย โบราณสถานต่างๆ ที่ปรากฏในอุทยาน ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นวัดมงคลบพิตร พระราชวังโบราณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ เพนียดคล้องช้าง ล้วนเป็นหลักฐานทางอารยธรรมซึ่งแสดงถึงระยะเวลาอันสงบสุข และเป็นปึกแผ่น ที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ อำนาจทางการเมืองอันมั่นคงและซับซ้อน ความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก อาทิ ปอร์ตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นประจักษ์พยานถึงความรุ่งเรืองและมั่นคั่งของอาณาจักรอยุธยา

ได้เป็นอย่างดี 
พระราชวังโบราณหรือพระราชวังหลวง   พระราชวังโบราณ เป็นที่อยู่ของพระมหากษัตริย์และเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมืองและการปกครองในเวลาเดียวกัน เมื่อแรกสร้างกรุงศรีอยุธยานั้นพระเจ้าอู่ทอง ( พ . ศ . 1893-1912) ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งวัดพระศรีสรรเพชญ์
วัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงอุทิศบริเวณ พระราชมณเฑียรให้เป็นวัดภายใน พระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้าง เขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไป ไม่ไกลนักพระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตรและสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ราวแผ่นดินสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ เมื่อพ..2145สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอก พระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตก ที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรดเกล้าฯให้ก่อมณฑปสวมไว้ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ผ่าลงมาไหม้เครื่องบนพระมณฑปเกิดไฟไหม้ ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหายจึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑป เป็นหลังคาพระวิหารธรรมดาแทน ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคล บพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายเช่นเดียว กับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ
วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับ

ไหว้พระ ชมวัดวาอาราม วัดในอยุธยามีอยู่ 504 วัด ถ้าจะไปท่องเที่ยวไหว้พระ 9 วัด ก็สามารถทำได้ไม่ยาก แต่ในที่นี้จะแนะนำวัดที่สำคัญๆที่เมือไปอยุธยาแล้วต้องไปนมัสการ รวมถึงพระประธานที่ใครมาก็ต้องมาไหว้ 

วัดใหญ่ชัยมงคล (วัดเจ้าพระยาไท หรือวัดป่าแก้ว) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสักถ้ามาจากตัวเมืองข้ามสะพาน สมเด็จพระนเรศวร-มหาราช แล้วจะเห็นพระเจดีย์วัดสามปลื้มอยู่กลางสี่แยก เลี้ยวขวาไปไม่ไกลก็จะเห็น ป้าย มีทางแยกซ้ายมือหรือหากมาทางถนนสายเอเซียเลี้ยวเข้าแยกอยุธยา แล้วพบพระเจดีย์ใหญ่กลาง ถนนก็เลี้ยวซ้ายวัดนี้ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมื่อพ.ศ. 1900 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้าง "วัดป่าแก้ว" ขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงพระศพ "เจ้าแก้วเจ้าไท"ในการสร้างวัดป่าแก้วครั้งนี้ ได้ทรง สร้างพระเจดีย์ขึ้นคู่กับ พระวิหารด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2135 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสริม พระเจดีย์ให้ ใหญ่และสูงขึ้นพร้อม ๆ กับการสร้างเจดีย์ยุทธหัตถีที่ตำบลหนองสาหร่าย จังหวัด สุพรรณบุรี เพื่อเฉลิมพระ เกียรติเมื่อคราวทรงชนะศึกยุทธหัตถี พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดชัยมงคล" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดใหญ่ ชัยมงคล วัดนี้ร้างไปเมื่อคราวเสียกรุงครั้งสุดท้ายแล้ว เพิ่งจะตั้งขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ




วัดพนัญเชิงวรวิหาร ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ซึ่งครองเมืองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามวัดว่าวัดพระเจ้าพระนางเชิง หรือ "วัดพระนางเชิง" 




วิหารพระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตร เป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ องค์ใหญ่องค์หนึ่ง ในประเทศไทย พระมงคลพิตรนี้ แต่เดิม อยู่ทางทิศตะวันออก นอกพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้ชลอมาไว้ ทางด้านทิศตะวันตก ที่ ซึ่งประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรดให้ ก่อมณฑปสวมไว้ ครั้งถึงแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าเสือ ยอด มณฑปเกิดไฟไหม้ เพราะอสุนีบาต ทำให้พระศอ ของพระมงคลบพิตรหักตกลง จึงโปรดให้ก่อสร้างใหม่ แปลงเป็นมหาวิหาร แทนเมื่อเสียกรุงครั้งที่ ๒ วิหารมงคลบพิตร ถูกไฟไหม้ทรุดโทรม พระวิหารและองค์ พระพุทธรูป ได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ฝีมือไม่งดงามอ่อนช้อย เหมือนของเก่า บริเวณข้างวิหาร พระ มงคลบพิตร ทางด้านทิศตะวันออก เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับ สร้างพระมรุ พระบรมศพ ของ พระมหากษัตริย์ และเจ้านาย เช่นเดียวกับท้องสนามหลวง ของกรุงเทพฯ


วิหารพระมงคลบพิตร


ล่องเรือ ชมเมืองทางเรือ  การเดินทางมาอยุธยามีความสะดวกเป็นอย่างยิ่ง ทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเรือ โดยเฉพาะทางเรือมีคนสนใจเดินทางโดยวิธีนี้กันมาก เหมาะสำหรับการเดินทางแบบไม่รีบเร่ง ได้ชมบรรยากาศตั้งแต่กรุงเทพไปถึง อยุธยาเลยทีเดียว โดยเฉพาะชาวต่างชาติจะชอบเดินทางแบบนี้ ข้อดีคือได้ชมทิวทัศน์ไปด้วย 4จังหวัด คือกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และอยุธยา ดูเพิ่ม....>>
gr11

เรือแกรนด์เพิร์ล
เรือหรูๆแบบเรือสำราญ




ล่องกันตั้งแต่เช้ามืดกลับค่ำ








เรือแบบถูกหน่อย

























ชุมชนโบราณ และปัจจุบัน 
เที่ยวตลาดน้ำ
ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี
พะเนียดคล้องช้าง
ขี่จักรยานชมเมือง
อาหารการกิน 
เทศกาล และ Events
หัตถกรรม ศิลปกรรม สินค้า OTOP ของฝาก
การคมนาคม ขนส่ง
ที่พัก ที่ประชุมสัมมนา
การเมือง การปกครอง และท้องถิ่น
แผนที่ และภูมิประเทศ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น